วันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2561

วงจรชีวิตไหม




วงจรชีวิตไหม


ภาพที่ 1  ชีพจักรของไหม
ที่มา: Sericulture training manual,1990

วงจรชีวิตไหม
ตัวไหมมีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) มีอายุประมาณ 42 – 55 วัน สามารถแยกได้ 4 ระยะ ดังนี้
      1. ระยะไข่ไหม (eggs) มี 2 ชนิด คื ไข่ไหมที่พักตัว (hibernating eggs) และไข่ไหมที่ไม่พักตัว (non – hibernating eggs) ไข่ไหมที่พักตัวสามารถกระตุ้นให้ฟักออกเป็นตัวได้เช่นเดียวกับไข่ไหมชนิดไม่พักตัว โดยการฟักเทียมไข่ไหมสารละลายกรดเกลือ ไข่ไหมที่ผ่านการพักตัวแล้วจะฟักออกเป็นตัวภายใน 11 -12 วัน ส่วนไข่ไหมชนิดไม่พักตัวจะฟักออกภายใน 10 – 11 วัน
      2. หนอนไหม (larvae) ระยะนี้มีอายุประมาณ 19 -25 วัน หนอนไหมแรกเกิดมีสีดำยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร หนักประมาณ 0.45 มิลลิกรัม ในระหว่างการเจริญเติบโต ปกติจะมีการลอกคราบ 4 ครั้ง หนอนไหมเต็มที่จะมีน้ำหนักเป็นประมาณ 10,000 เท่าของน้ำหนักไหมแรกเกิด เมื่อหนอนไหมโตเต็มที่พร้อมจะทำรังเรียกว่า ไหมสุก ลำตัวใส ส่ายหัวไปมาเพื่อพ่นเส้นใยทำรังในจ่อ ใช้เวลา 2 – 3 วัน ในการพ่นเส้นใยและลอกคราบเป็นดักแด้
      3. ระยะดักแด้ (pupae) ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 10 -13 วัน จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย (ผีเสื้อ)
      4. ผีเสื้อ (moth) ปกติมีอายุประมาณ 7 -10 วัน ตัวเต็มวัยจะผสมพันธ์วางไข่สืบสายพันธุ์ต่อไป

อ้างอิงจาก

การจัดความรู้กรมหม่อนไหม

2 ความคิดเห็น: